เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญรองมาจากซีพียู เมนบอร์ดทำหน้าที่ควบคุม ดูแลและจัดการๆ ทำงานของ อุปกรณ์ชนิดต่างๆ แทบทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ซีพียู ไปจนถึงหน่วยความจำแคช หน่วยความจำหลัก ฮาร์ดดิกส์ ระบบบัส บนเมนบอร์ดประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ มากมาย เมนบอร์ดที่ใช้งานในปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่เป็นแบบ ATX เกือบทั้งหมดแล้ว เทคโนโลยีของเมนบอร์ดเองก็ได้มีการพัฒนาไปมากเช่นกัน ซึ่งมีเทคโนโลยีเข้ามาในการเพิมประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น มีสีสันที่สวยงามโดยเฉพาะคนที่ชอบแต่งเครื่องของตัวเองจะเลือกสีสันที่มีความสวยงาม
ส่วนต่างๆของเมนบอร์ด
จากภาพ เราจะเห็นว่าเมนบอร์ดมีส่วนประกอบหลักๆดังนี้
1.ซ็อกเก็ตซีพียู
ซ็อกเก็ตซีพียู เป็นที่ติดตั้งของตัวซีพียูเองจะมีลักษณะตามรุ่นตามยี่ห้อ หรือตามซีพียูที่เราจะใส่ ดังนั้นเราควรที่จะเลือกให้ตรงกันด้วย
2. พอร์ตที่ใช้ในการเชื่อมต่อ
ทางด้านหลังของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะมีพอร์ตที่ใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ภายนอก ซึ่งแต่ล่ะพอร์ตจะมีรูเสียบเฉพาะของอุปกรณ์ที่ต่อนั้นจะไม่ค่อยต่อผิดกัน
3.สล็อต์ AGP
ใช้สำหรับการเชื่อมต่อของการ์ดแสดงผล มีทั้ง AGP และ PCI Express เพื่อเชื่อมต่อให้กับมอนิเตอร์ใช้ในการแสดงผล
4.สล็อต PCI
ใช้สำหรับการเชื่อมต่อการ์ดต่างๆที่ไม่ต้องการความเร็วสูงมากนัก เช่นการ์ดเสียง การ์ดแลน และโมเด็มใช้สำหรับการเชื่อมต่อ
5.ตัวอ่านแผ่นดิสก์
ซึ่งปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้วแต่ให้สำหรับการเชื่อมต่อ Memory Card ต่างๆ แต่ต้องชื้อตัวมาเพิ่ม
6.ซิปเซต
ถือได้ว่าเป็นมีความสำคัญ เพราะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานต่างๆบนเมนบอร์ด
7.หัวต่อ SATA
ซึ่งใช้ในการเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์ แบบ SATA ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบอนุกรม ซึ่งมีข้อดีทั้งประหยัดพลังงานและประหยัดพื้นที่ อีกทั้งยังทำให้ระบายความร้อนภายในเคสได้ดีอีกด้วย
8.หัวต่อแบบ IDE
ใช้ในการเชื่อมต่อแบบ IDE ทั้งแบบที่เป็นฮาร์ดดิสก์ และ CD/DVD ROM
9.ต่อแหล่งจ่ายไฟ
10.ซ็อกเก็ตแรม
โดยใช้สำหรับใส่แรม
11.ตัวเชื่อมปุ่มควบคุม
ใช้ในการเชื่อมต่อปุ่ม Power ปุ่ม รีสตาร์ท และแสดง ไฟของการทำงานฮาร์ดดิสก์ และไฟขณะทำงาน
12.ตัวต่อ USB
ใช้ในการเชื่อมต่อ USB ภายในเคส เพื่อเพิ่มในการเชื่อมต่อ USB ที่มากขึ้น
ปัจจุบันจะเหลือเมนบอร์ดเพียงไม่กี่ซ็อกเก็ตที่ถูกวางขายในตลาด หลายซ็อกเก็ตก็มีการลดความนิยมและหายจากตลาดไปในที่สุด
Intel
-Socket 775 LGAรองรับ Processor ตระกูล Celeron, Pentium, Pentium Dual Core, Core2Duo, Core2Quad, ฯลฯ เป็นช่วงท้ายๆที่ยังใช้ Memory Controller ที่อยู่บนเมนบอร์ด จึงทำให้บางรุ่นที่ผลิตออกมาสามารถใช้งานร่วมกับ Ram แบบ DDR3 ได้ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นช่องใส่ Ram แบบ DDR II ซะมากกว่า บางรุ่นจะยังมี Port IDE สำหรับ Harddisk รุ่นเก่า หรือพอร์ท AGP สำหรับการ์ดจอรุ่นเก่าอยู่ด้วย ตัวชิปเซ็ตของเมนบอร์ดที่มีขายตามท้องตลาดก่อนหน้านี้มีหลากหลายยี่ห้อ ปัจจุบันเหลือเพียงชิปเซ็ตของ Intel แทบทั้งหมด
-Socket 1155 LGA
รองรับ Processor ในตระกูล Celeron, Pentium, Core i Series ในโค๊ดเนม Sandy Bridge และ Ivy Bridge ซึ่งในซ็อกเก็ตนี้จะมีชิปเซ็ตบนเมนบอร์ดเพียงตัวเดียว เพราะไม่ว่าจะเป็น Memory Controller หรือ Controller อื่นๆที่มีความเร็วสูงและเคยอยู่บน North-Bridge ถูกย้ายขึ้นไปไว้บนตัว Processor แทนแล้ว
-Socket 1150 LGA
รองรับ Processor ตระกูล Celeron, Pentium, Core i Series ในโค๊ดเนม Hasswell ที่ปรับปรุงมาจาก Ivy bridge คุณภาพของ iGP(integrated Graphic Processor)มีประสิทธิภาพสูงกว่าที่ผ่านๆมา สามารถใช้งานแทนการ์ดจอระดับล่างได้เลย
AMD
-Socket AM3+รองรับ Processor ตั้งแต่ตระกูล Sempron,Athlon II,Phenom II,AMD FX และ Opteron บางตัว รองรับแรมแบบ DDR3 Dual Channal ถ้าเป็นชิปเซ็ตตระกูล AMD 9XX ขึ้นไปจะไม่มีชิปกราฟฟิกมาให้
-Socket FM2+
ใช้งานร่วมกับ APU(A4,A6,A8,A10), Athlon II,Phenom II ต่อยอดมาจากซ็อกเก็ต FM2 ซึ่งทำออกมาเพื่อรองรับ APU ในตระกูล Kavari ทั้งยังสามารถรองรับกับ APU ที่ใช้ซ็อกเก็ต FM2 ได้อีกด้วย บนเมนบอร์ดจะมีพอร์ทที่ใช้เชื่อมต่อกับจอ แต่ ต้องใช้งานร่วมกับ APU เท่านั้น ถ้าใช้ Processor ตระกูล Phenom หรือ Athlon จะไม่สามารถใช้งานพอร์ทที่ต่อจอได้ ต้องใช้การ์ดจอแยกเท่านั้น
-Socket AM1
ใช้งานร่วมกับ SoC ตระกูล Athlon กับ Sempron ที่มีความถี่การทำงานไม่สูงนัก บนเมนบอร์ดจะไม่มีชิปเซ็ต North-Bridge หรือ South-Bridge เพราะ Controller ต่างๆจะอยู่บน Processor แทบทั้งหมด รองรับ Memory แบบ DDR3 Single Channal เท่านั้น แม้จะใส่ Ram มากกว่า 1 ตัวก็ตาม
http://goo.gl/nWpjH8
http://goo.gl/Uyu8y4
http://goo.gl/vtu6Hp
http://goo.gl/k3aVor
http://goo.gl/AeK5Sk
http://goo.gl/kKq0qD