Graphic Card

     การ์ดแสดงผล  เป็นอุปกรณ์หนึ่งที่ทำหน้าทีในการประมวลผลสัญญาณของภาพเพื่อส่งต่อไปยังมอนิเตอร์  เพื่อแสดงภาพ  สำหรับการ์ดแสดงผลนี้เป็นจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับบุคคลที่ต้องการภาพที่สมจริงรวมไปถึงคนที่ต้องการเล่นเกมส์  และคนที่ชอบตัดต่อ VDO ส่วนใหญ่แล้ว  ก็จะติดตั้งมาพร้อมเมนบอร์ด  แต่คนที่ต้องการจะมีการ์ดแสดงผลแยกตางหากก็สามารถ  เลือกที่ไม่มีติดตั้งก็ได้

ชนิดของสล็อตเชื่อมต่อที่การ์ดจอใช้


     AGP


     AGP (Accelerated Graphics Port) นั้นคือพอร์ต หรือ สล๊อต ("สล๊อต" คือส่วนที่อนุญาตให้ผู้ใช้เพิ่มการ์ดขยายให้กับคอมพิวเตอร์) ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการทางด้าน Graphics ใช้งานร่วมกับกราฟิกการ์ด เพื่อที่จะให้เพิ่มอัตรา และความเร็วในการรับ/ส่งข้อมูลให้เพิ่มมากขึ้นจากเดิมที่ใช้งานร่วมกับสล็อตแบบ PCI โดย AGP แยกการวิเคราะห์เป็น 2 ส่วนคือ AGP Slot (ส่วนที่เป็นสล๊อตที่ติดตั้งอยุ่บนเมนบอร์ด) และ AGP Card
การพัฒนานี้ได้เริ่มมาจาก AGP 1.0 หรือ AGP1X/2X เป็นต้นมาซึ่งจะสามารถที่จะทำงานได้เท่ากับความเร็วของอัตราบัสบนระบบกล่าวคือ ถ้าใช้งานที่ระบบบัส 100MHz AGP 1X ก็จะมีความเร็วในการรับ/ส่งข้อมูลที่ 100MHz เช่นกัน และยังมี AGP อีกหนึ่งประเภทซึ่งตอนนี้นั้นยังมีใช้งานอยู่ในเมนบอร์ดบางรุ่นเท่านั้น คือ AGP Pro สล็อตแบบนี้จะเพิ่มส่วนที่จะให้แรงดันไฟฟ้าเพิ่มขึ้นมาเพื่อที่จะรองรับการทำงานของกราฟิกการ์ดที่ใช้ระบบระบายความร้อนขนาดใหญ่ ซึ่งในตอนนี้นั้น กราฟิกการ์ดส่วนใหญ่จะแก้ปัญหาเหล่านี้โดยการอาศัยกระแสไฟฟ้าจาก Power Supply โดยตรง ซึ่งทำให้การใช้งานสล็อดแบบ AGP Pro ไม่มีความจำเป็น

การ์ดจอที่ใช้สล็อต AGP

     PCI Express


     ในวันที่ 17 เมษายน 2002 ได้มีการเปิดตัวมาตรฐาน PCI Express (3GIO หรือ 3rd Generation I/O โดยมี ISA เป็น 1st Generation และ PCI เป็น 2nd Generation) ซึ่งเป็น Technology PCI แบบใหม่ที่ยอมให้อุปกรณ์ภายใน PC นั้นเช่น CPU ติดต่อโดยตรงกับอุปกรณ์ที่ต้องการติดต่ออยู่ได้ทั้งหมดโดยแยกจากกันเป็น อิสระ และสามารถเชื่อมต่อกันได้เต็ม bandwidth ซึ่งเป็นแบบ Point to Point หรือติดต่อกันโดยไม่ต้องแบ่ง bandwidth กับอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆเลย

     โดย PCI Express ได้ออกมา 2 Version คือ X1 ซึ่งใช้กับอุปกรณ์ที่ไม่ต้องการ Bandwidth สูง หรือเพียง 400 MB/s และ X16 ที่ใช้กับ Graphic Card ที่ 4 GB/s ระบบ Bus ยังคงเป็นแบบอนุกรมซึ่งสามารถส่งและรับข้อมูลได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน คล้าย Technology Hypertransport ของ AMD โดยจะส่งข้อมูลอยู่ในรูแบบของ Packet เป็นแบบเดียวกับการทำงานของ OSI model ใน Layer 3 (network Layer) การส่งข้อมูลของ PCI Express จะส่งไปตาม Line หรือ Lane ซึ่งต่อตรงกับอุปกรณ์ที่กำลังติดต่อด้วย และ ค่าที่ระบุว่ามีกี่ Line หรือ Lane คือ ตัวเลขหลัง “X” โดย x1 = 1 Line, x4 = 4 Line, x8 = 8 Line และ x16 = 1 6 Line สำหรับความเร็วนั้นเนื่องจาก PCI Express จะส่งข้อมูลไปกลับได้พร้อมกัน จึงต้องคิดเป็น 2 เท่า ฉะนั้น เมื่อความเร็วถูกระบุที่ 1 GB/s สำหรับ 4x ความเร็วรวมจะอยู่ที่ 2 GB/s

     PCI Express พร้อมที่จะรองรับ Driver ของ PCI ที่ใช้ Software และ OS ที่มีอยู่ในปัจจุบัน อีกทั้งยังประหยัดพลังงานโดย PCI จะใช้แรงดันที่ 5 V แต่สำหรับ PCI Express ใช้เพียง 3.3 V ยังรวมการทำงานแบบ Hot-Pluggable (เสียบ Card โดยไม่ต้อง ปิดเครื่อง) ส่วนการทำงานในด้าน Graphic ระดับ High end นั้น PCI Express ได้ถูกออกแบบให้รองรับการใช้พลังงานที่สูงถึง 75 W ซึ่งจะแบ่งเป็นชนิด x1 จะใช้พลังงานตามการออกแบบอยู่ที่ 25W ในความเป็นจริงใช้เพียง 10W และที่เกินนั้นรองรับ PCI Express x8 slot ขณะที่ AGP เองรองรับได้ 25 W ถึง 42 W เท่านั้น ในส่วนของอุปกรณ์ที่ต่อพ่วงที่ต้องการต่อออกจาก PCI Express Slot นั้นจะใช้ Cable ได้ยาวถึง 5

     PCI Express ที่มีความเร็วในการส่งข้อมูลต่างกันสามารถใช้งานด้วยกันได้ เนื่องจากการออกแบบที่ได้ถูกพิจารณาตั้งแต่แรกของ PCI Express สามารถที่จะใช้งานร่วมกันได้ เช่น ถ้ามี Card PCI Express ชนิด x8 ก็สามารถใช้ได้กับ Slot ที่มีความเร็วที่สูงกว่า คือ x16 แต่ยังคงวิ่งอยู่ที่ 4 เลนเหมือนเดิม


การ์ดจอที่ใช้สล็อต PCI-Express

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.comsimple.com
http://th.wikipedia.org
http://www.ebay.co.uk
http://international.download.nvidia.com